top of page

สั่งผลิตฟิล์ม DTF กับลงเครื่อง DTF อันไหนคุ้มกว่ากัน

อัปเดตเมื่อ 1 มิ.ย. 2566

มาหาคำตอบของต้นทุน DTF กับข้อมูลจริง จากร้าน Jazz Solution


ตอนนี้ได้รับกระแสความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับเครื่องพิมพ์ DTF เนื่องจากตอบโจทย์การทำงานสกรีนได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสกรีนลงบนผ้าอะไรก็ได้ ผ้าสีอะไรก็ได้ ซึ่งทำลายข้อจำกัดบางอย่างของงานซับลิเมชั่น และระบบ DTG ที่เป็นระบบงานพิมพ์สกรีนที่ได้รับความนิยมในระบบการพิมพ์แบบดิจิทัล





ทำให้เกิดความลังเลใจสำหรับคนที่กำมองหาเครื่อง DTF ไว้สำำหรับครอบครอง เนื่องจากสถานการณ์โควิท 19 ก็ดี สถานะการตลาดซบเซาก็ดี สถานะการค่าครองชีพที่สูงขี้นก็ดี สถานะการสงครามดี ว่าเจ้าเครื่อง DTF คุ้มค่าน่าลงทุนไหม จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน ต้นทุนมีอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง (ที่บางครั้งคนขายไม่ได้บอก)


ทางร้านแจ๊สจะขอนำประสบการณ์ การใช้เครื่อง DTF มานำเสนอเพื่อเปรียบเทียบให้ทุกท่านทราบและเข้าใจในบริบทของเครื่อง DTF ซึ่งข้อมูลดังกล่างเป็นข้อมูลจากการใช้จริง


การซื้อเครื่อง DTF พิมพ์เอง และสั่งผลิตจากร้านจุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน ?


  • จากตัวอย่างข้างต้นทางเราจะเปรียบเทียบราคาค่าบริการรับพิมพ์ DTF หน้ากว้าง 63 เซนติเมตร โดยคิดเป็นราคาต่อ 1 เมตร ซึ่งปัจจุบันทางร้านจำหน่ายที่ 300 บาทต่อเมตร

  • ปัจจัยต่อมาทางร้้านจะเทียบกับราคาเครื่องที่ต้องลงทุนซึ่ง ณ ปัจจุบันราคาจำหน่ายเครื่อง DTF หน้ากว้าง 60 เซนติเมตร จะมีราคา 290,000 - 390,000 (เป็นระบบ CMYK ) ทางร้านขอเลือกที่ราคา 350,000 รวมอุปกรณ์อื่น ๆ สำหรับใช้งาน เช่น COMPUTER , ระบบดูดอากาศ , และอื่น ๆ ไม่น่าจะเกิน 350,000

  • ปัจจัยที่ 3 คือจะเทียบปริมาณงานที่ 10,000 แผ่น A4 ซึ่งเป็นความสามารถที่เครื่องทำงานได้ต่อเดือน (พิมพ์แบบสบาย ๆ วันละ 7-8 ชั่วโมงสัปดาห์ละ 6 วัน)

  • ปัจจัยที่ 4 ต้องมีคนคุมเครื่อง DTF 1 คน สำหรับพิมพ์งาน และออกแบบ ซึ่งมีค่่าใช้จ่ายในส่วนของเงินเดือน (ซึ่งจริง ๆ ทางร้านใช้ 2 คนเพื่อตรวจเช็คและ ตัดงานอีก 1 คน

  • ปัจจัยที่ 5 ค่าไฟจากทำงานของเครื่อง DTF แน่นอนเครื่อง DTF กินกำลังไฟสูงพอสมควรในส่วนของเครื่องอบ ซึ่งทุกท่านต้องนำมาคำนวนเป็นต้นทุนด้วย โดยเครื่องพิมพ์ DTF ที่ร้านใช้กินกำลังไฟ 4700 วัตต์ คูณด้วยค่าไฟ หน่วยละ 4บาท พิมพ์วันละ 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 6 วัน จะกินไฟคิดเป็นเงินประมาณ 3,760 บาท หากรวมมอเตอร์ดูดอากาศ จะอยู่ประมาณ 4000 บาท ไม่รวม แอร์ในห้องพิมพ์ และความพิวเตอร์พิมพ์งาน ( https://erdi.cmu.ac.th/?p=564 )

  • ปัจจัยที่ 6 คือต้นสำหรับ Maintenance เครื่อง ซึ่งเครื่อง DTF ต้องการการทำ Maintenance และดูแลอย่างมาก และปัจจัยสำคัญมากๆ ที่จะให้คุณใช้เครื่องได้ต่อเนื่อง ซึ่งก็มีพวกน้ำยาล้างหัวพิมพ์ ชุดทำความสะอาดหัวพิมพ์ อุปกรณ์ต่าง และอะไหล่ต่างรวมถึงค่าแรงในการเรียกช่างเข้ามาในกรณีเร่งด่วน (ซึ่งทุกครั้งคือเร่งด่วนทั้งหมด)

สั่งผลิต DTF เมตรละ 300

ซื้อเครื่อง DTF หน้ากว้าง 63 เซน

ผลิตเสื้อด้วย DTF ขายจำนวน 10,000 ตัวในขายราคา 159 บาท

ยอดขาย 1,590,000

ยอดขาย 1,590,000

ต้นทุนเสื้อ 45 บาท

450,000

450,000

ต้นทุนสกรีน DFT ขนาด A4 จำนวน 10,000 ตัว

350,000

275,000

ค่าไฟต่อเดือน

0

4,000

ค่าเงินเดือนพนักงาน

0

12,000

ค่า Maintenance เครื่อง DTF

0

5,000

ต้นทุกเครื่อง

0

350,000

รวมต้นทุนทั้งหมด

800,000

1,096,000

กำไรที่ได้

790,000

494,000

จากตารางข้างต้นทางร้านคำนวนจากขายเสื้อในท้องตลาดโดยประมาณ 159 บาท และต้นทุนเสื้อที่ต่ำสุดที่พอจะหาได้ คือ 45 จะเห็นได้ว่า ส่งพิมพ์งาน DTF (A4) 10,000 ตัว กับพิมพ์งาน DTF เอง เมื่อหักต้นทุนไปแล้ว กำไรจะแตกต่างกันมากเนื่องพิมพ์เองคุณต้องคำนวนค่่าเครื่อง ค่าไฟ ค่าแรง ค่าดูแลรักษาเข้า เลยมีกำไรน้อยกว่าส่งผลิตในเดือนแรก


สั่งผลิต DTF เมตรละ 300

ซื้อเครื่อง DTF หน้ากว้าง 63 เซน

ผลิตเสื้อด้วย DTF ขายจำนวน 20,000 ตัวในขายราคา 159 บาท

3,180,000

3,180,000

​ต้นทุนเสื้อ 45 บาท

900,000

900,000

ต้นทุนสกรีน DFT ขนาด A4 จำนวน 20,000 ตัว

700,000

550,000

ค่าไฟต่อเดือน

0

8,000

ค่าเงินเดือนพนักงาน

0

24,000

ค่า Maintenance เครื่อง DTF

0

40,000

ต้นทุกเครื่อง

0

350,000

​รวมต้นทุนทั้งหมด

1,600,000

1,872,000

​กำไรที่ได้

1,580,000

1,308,000

เมื่อเข้าสู่เดือนที่สองหรือรับงานพิมพ์ไป 20,000 สิ่งที่จะเกิดกับคนใช้เครื่องและมีโอกาสสูง ซึ่งทางร้านก็ได้รับประสบการณ์มาคือหัวพิมพ์เสียหายจากการใช้งานโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งราคาหัวพิมพ์ อยู่ที่ประมาณ 28,000 - 32,000 ขึ้นอยู่กับราคาแต่ละช่วงเวลา รวมกับอุปกรณ์ อื่น ๆ เช่น แค๊ป ปั๊ม ก็อยู่ 35,000 โดยประมาณ




ในประเด่นนี้เลยอยากจะแจ้งไว้สำหรับคนที่กำลังจะลงเครื่อง คุณต้องมีคนค่อยดูแลเครื่องเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบที่ทางร้านเจอ


​​สั่งผลิต DTF เมตรละ 300

ซื้อเครื่อง DTF หน้ากว้าง 63 เซน

ผลิตเสื้อด้วย DTF ขายจำนวน 30,000 ตัวในขายราคา 159 บาท

4,770,000

4,770,000

​ต้นทุนเสื้อ 45 บาท

1,350,000

1,350,000

​ต้นทุนสกรีน DFT ขนาด A4 จำนวน 30,000 ตัว

1,050,000

825,000

ค่าไฟต่อเดือน

0

12,000

​ค่าเงินเดือนพนักงาน

0

36,000

​ค่า Maintenance เครื่อง DTF

0

45,000

ต้นทุกเครื่อง

0

350,000

​​รวมต้นทุนทั้งหมด

2,400,000

2,618,000

​กำไรที่ได้

2,370,000

2,152,000

จะเห็นได้ว่าเมื่อคุณได้ใช้เครื่องไป 3 เดือน แล้วก็ยังไม่มีกำไรมากกว่าส่งผลิตอยู่ดี ซึ่งเมื่อคำนวนด้วยต้นทุนการพิมพ์แบบนี้ไปเลื่อย ๆ ลูกค้าจะเริ่มมีกำไรมากกว่าส่งผลิต คือที่ประมาณ 80,000 ตัว หรือ ประมาณ 8 เดือน หรือสิ่งที่เราเรียกว่าจะคุ้มทุน เมื่อถึงเครื่องก็จะใกล้ระยะการรับประกันอื่น ๆ หมดซึ่งก็น่าจะค่าใช้อื่นๆ ตามมาก็เป็นได้

ถ้าดูจากการเปรียบเทียบแล้วถ้ายิ่งงานมีน้อยกว่า 10,000 ชิ้น A4 ต่อ เดือน โอกาสจะคืนทุนนั้นยิ่งนาน ออกไป หรือ ไม่คุ้มเลย หรืออีกยิ่งถ้าขายงานได้ราคาถูกกว่านี้ ก็ยิ่งนานออกไปอีก


จริง ๆ แล้วระยะเวลาการคืนทุนนั้นสามารถจัดการได้ให้ได้เร็วกว่า เช่น

  • จัดการเรื่องการ Maintenance เครื่อง DTF ให้ดี จะช่วยลดต้นทุนในส่วนนี้ได้

  • เลือกวัดสุที่เหมาะกับงาน เช่น Film และ กาว ( DTF Powder ) คุณสมบัติบางอย่างไม่จำเป็นก็ลดต้นทุนได้ (ทางร้านไม่แนะนำ)

  • การหาผ้าที่เหมาะสม ช่วยลดการลงน้ำหมึกสีขาว เนื่องผ้าบางตัวมีการสะท้อนสีขี้นมาที่งานพิมพ์ เลยต้องใช้สีขาวให้เยอะเพิ่มกลบสีจากผ้า

  • ดูราคาขายปลีกที่เหมาะสม เช่น งานด่วน อาจจะได้ราคาชายที่ดีกว่า


ร้านแจ๊สโซลูชั่น รับสกรีนผ้าพียงส่งแต่ผ้าและไฟล์มาทางร้านจัดการให้เสร็จทั้งหมด โทร. 083-764-2255






ข้อดีของการมีเครื่อง DTF ไว้ใช้เอง

  1. ถ้้าดูจากข้างต้นแล้วมีสิ่งหนึ่งที่ทางร้านไม่ได้คำนวนลงไปคือค่าขนส่ง ถ้าเรามีเครื่องเองก็ลดเรื่องค่าขนในส่วนนี้ ได้

  2. ลดระยะเวลาเนื่องจากมีเครื่อง DTF เองก็สามารถกำหนดเวลา ได้แน่นอน ชัดเจน ลดระยะเวลาได้

  3. สามารถทำตัวอย่างได้ทันที และปรับขนาดและสี ได้ตามที่ต้องการ

  4. ลดต้นทุนค่าผลิตได้มากกว่า 20 % (ถ้าหักค่าเครื่องไปแล้ว)

ข้อเสียของการมีเครื่อง DTF ไว้ใช้เอง

  1. ต้องจ้างคนงานสำหรับดูแลเครื่อง และพิมพ์งาน DTF เพิ่มหนึ่งซึ่งเป็น Fixed cost

  2. ต้องการพื้นที่ และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพราะมีาีความร้านสะสมสูง (เครื่องอบ) และมีกลิ่นควัน

  3. ต้องมองหาเครื่องสำรอง หรือ เครื่องที่ 2 ไว้ เนื่องจากเครื่องประเภทนี้นึกจะหัวเสีย(หัวตัน) ก็เสียได้ทุกเวลา ในกรณีงานเร่ง งานด่วน อาจจะทำให้พลาดโอกาส

  4. ต้องเลือกตัวแทนจำหน่ายดี ๆ อันนี้สำคัญ เพราะคุณต้องได้ใช้บริการงานซ่อมอยู่เป็นประจำแน่นอน ยิ่งถ้าเป็นต่างจัังหวัดการเดินทางค่อนข้างช้า อาจจะทำให้คุณพลาดรับงานลูกค้าของคุณอีกที



บริการอื่นๆ




สนใจสอบถามเพื่อเติ่มได้ที่ 083-764-2255 หรือไลน์ไอดี @jazz-solution ( อย่าลืมใส่ @ นำหน้านะคะ )



Comments


สนใจรับข้อมูลเพิ่มเติม ฟรี !!

ขอบคุณสำหรับข้อมูล!

bottom of page