top of page

DTF vs DTG / Flex / Sublimation

อัปเดตเมื่อ 27 ม.ค.


ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อและเลือกใช้งานพิมพ์ระบบ DTF เมื่อเทียบกับระบบอื่น ๆ เป็นอย่างไร


ก่อนอื่นที่จะเรียนรู้ทุกอย่างของ DTF นั้น เราต้องทำความเข้าใจระบบการสกรีนผ้าก่อน เนื่องจากระบบ DTF นี้ถูกออกแบบมาให้ใช้สกรีนผ้าเป็นหลัก การสกรีนผ้ามีแบบไหน อะไรบ้าง


  1. DTF คืออะไร

  2. DTF VS DTG

  3. DTF VS Flex Print & Cut

  4. DTF VS Sublimation

  5. ข้อดีของการใช้ DTF

  6. ข้อเสียของ DTF


DTF คืออะไร (Digital Transfer Film)


จริง ๆ แล้วมีชื่อเรียกกันเยอะมาก เช่น DFT , DTF , DHT , HD , ขึ้นกับว่าจะสื่อสารยังไงให้ลูกค้าเข้าใจ (การตลาดของแต่ละตัวแทนที่นำเครื่องมาจำหน่าย)

สรุปง่าย ๆ ตามขั้นตอนตามนี้คือ


  1. การพิมพ์น้ำหมึก Ink Jet ลงไปที่แผ่นฟิล์ม ( PET Film ) โดยการพิมพ์สีลงไปที่แผ่นฟิล์มก่อน แล้วพิมพ์น้ำหมึกสีขาวลงไป เพื่อเป็นการรองขาว

  2. หลังจากที่พิมพ์น้ำหมึกขาวลงไปแล้ว น้ำหมึกจะยังไม่แห้งดี (เนื่องจากน้ำหมึกเป็นของเหลว) จะทำการโรยผงกาวไป เพื่อให้กาวเกาะติดกับงานพิมพ์ คือ สีขาว หลังจากโรยกาวไปที่งานสีขาว ส่วนที่ไม่ติดสีขาวจะต้องทำการเอาออก (อาจจะเคาะกาว หรือดีดกาวออก)

  3. การอบฟิล์ม เพื่อให้กาวแห้งติดกับหมึกขาว แล้วจึงสามารถนำแผ่นฟิล์มไปใช้งานต่อได้


ศึกษาข้อมูล DTF เพิ่มเติม >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>Click


ร้านแจ๊สโซลูชั่น รับสกรีนผ้าพียงส่งแต่ผ้าและไฟล์มาทางร้านจัดการให้เสร็จทั้งหมด โทร. 083-764-2255



DTF VS DTG (Digital to Garment)

​DFT / DTF

DTG

สกรีนได้ทุกประเภทผ้า

เกือบทุกประเภทผ้า

ต้องใช้น้ำยาเคลือบผ้าที่แตกต่างกัน

สกรีนผ้าที่เข้า

ดีมาก

ดีมาก

ความนุ่มของงานสกรีน

ดี

ดีมาก

ความเร็วในการสกรีนต่อวัน (ขนาด A3 ผ้าขาว )

ประมาณ 320 ตัว

250 ตัว

ความเร็วในการสกรีนต่อวัน (ขนาด A3 ผ้าสีเข้ม)

ประมาณ 320 ตัว

100-150 ตัว

ต้นทุนงานพิมพ์ (ขนาด A3 ผ้าขาว)

55 บาท

20 บาท

ต้นทุนการพิมพ์ (ขนาด A3 ผ้าสีเข้ม)

55 บาท

80 บาท

ความคงทนหลังสกรีน

ปานกลาง

ดีมาก

ราคาลงทุนเครื่องพิมพ์

350,000 - 490,000

500,000 - 590,000

ปัญหาการอุดตันหัวพิมพ์

เยอะ

เยอะ

ความจุกจิกของเครื่อง

เยอะมาก

เยอะ

คุณภาพการสกรีน

สวย

สวยมาก

ความคมชัดของตัวหนังสือ

ดีมาก

ดี

ไฮไลท์ และงานเงา ฮาร์ฟโทรบนผ้า

ไม่ดี

ดีมาก

ราคาขายเสื้อยืดต่อพัว(เสื้อขาว)

150-250 บาท

100-250 บาท

ราคาขายเสื้อยืดต่อตัว(เสื้อสีเข้ม)

150-250 บาท

350 - 650 บาท

วัสดุ สิ้นเปลือง

หมึก / ฟิล์ม / กาว

หมึก / น้ำยาเคลือบผ้า

อายุหัวพิมพ์

3-6 เดือน

1 ปี

ใช้คนงาน

1 คนต่อ 1 เครื่อง

1 คน 2-4 เครื่อง

ต้องล้างหัวพิมพ์

ทุก ๆ 30-45 นาที

ทุก ๆ 1 ชั่วโมง


** จากการเปรียบเทียบกับเครื่อง DTG (Digital To Garment) จะเทียบในส่วนราคาการลงทุนที่ไม่แตกต่างกันมาก และเป็นเครื่องยี่ห้อ ที่มีในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็น เอปสัน บราเดอร์ ริโก้ อนาเจ็ต


จะเป็นได้ว่า DTF ( Digital Film Transfer ) ออกมาทำให้หลาย ๆ คนที่คุ้นเคยเครื่อง DTG นั้นมีความสับสนว่า มาแทน หรือ มาฆ่า DTG เลยหรือเปล่า จะเห็นได้จาก ต้นทุน หรือ ความเร็ว ต่าง ๆ สามารถทำได้ดี จริง ๆ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น เนื่องจากเป็นเครื่องคนละประเภท และเครื่อง DTG ก็เป็นเครื่องแบรนด์แนมที่มาจากญี่ปุ่น


ทำให้ราคาค่อนข้างต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องและน้ำหมึก เนื่องจากเครื่อง DTF ที่ผลิตมาขายในตลาดเป็นเครื่องที่ถูกผลิตมาจากจีนทั้งนั้น ทำให้ราคาเครื่องไม่แพง และวัสดุก็ถูก จึงเทียบไม่ได้ในส่วนต้นทุน


ในส่วนของงานพิมพ์ก็มีความแตกต่างกันอย่าง feeling ที่ DTG สามารถจับสัมผัส มีความนุ่มแล้วเป็นธรรมชาติมากกว่า ระบายอากาศได้ดีกว่า และหมึกก็น้ำหมึกแบบพิกเม้น ที่ใช้กัน และพัฒนาให้มีความเป็นมาตรฐาน และมีความปลอดภัยจนเป็นที่ยอมรับมาแล้ว


สรุป ข้อดีของระบบ DTG (Digital To Garment) ที่ทำได้ดีกว่าระบบ DTF


  1. งานสกรีนดูเป็นธรรมชาติไม่หนา ไม่แข็งสวมใส่สบายกว่า

  2. เป็นระบบการพิมพ์ตรงลงผ้าเลย ทำให้อายุงานพิมพ์ ติดทนนาน ไม่หลุด

  3. ไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ลงฟิล์มก่อน ลดต้นทุน ค่าฟิล์ม

  4. ต้นทุนถูกกว่า ในกรณีพิมพ์เสื้อขาวสามารถเลือกไม่ลงหมึกขาวได้ ก็ทำให้ประหยัดต้นทุนได้กว่า DTF

  5. ใช้งานง่าย ไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำไฟล์มากนั้น ( Photoshop / illustrator )

  6. คุณภาพการพิมพ์รูปสวยกว่า โดยเฉพาะการพิมพ์ภาพเงา ควัน ไฮไลท์ ในส่วนของ ซึ่ง DTF ไม่สามารถทำได้

  7. ประหยัดพื้นที่มากกว่า การใช้ง่ายกว่า ไม่ซับซ้อน

  8. สกรีนผ้าที่มี Texture หรือผ้าไม่เรียบดีกว่า เช่นผ้าที่มีลักษณะที่เป็นตาข่าย และตะเข็บผ้า

  9. สกรีนผ้าที่มีความหดตัวได้ดีกว่า เพราะหมึกเป็นของเหลว ไม่ทำให้ภาพยับหลังสกรีน

สรุป ข้อดีของระบบ DTF ( Digital Film Transfer ) ที่ทำได้กว่าระบบ DTG


  1. สามารถสกรีนลงผ้าที่ไม่เรียบได้ เช่น ถุงมือผ้า หน้ากากผ้า รองเท้า ป้ายคอเสื้อ

  2. งานสกรีนจะมีผิวสัมผัสที่แข็งและนูน เหมือนงานสกรีน และ งานเฟล็กมากกว่า

  3. ตัวหนังสือเล็ก ๆ สามารถสกรีนได้ดีกว่า

  4. พิมพ์ลงฟิล์มก่อน ค่อยไปทรานเฟอร์ลงผ้า ทำให้งานไม่เสียที่ผ้าหรือเสื้อก่อน (เมื่อเห็นงานผผิดพลาดจากฟิล์ม ก็ไม่ต้องสกรีนลงผ้า)

  5. ต้นทุนพิมพ์ผ้าสีเข้มค่อนข้างดีกว่า DTG

  6. สกรีนชนิดผ้าได้เยอะกว่า DTG คือ DTF สกรีนได้เกือบทุกประเภทผ้า

  7. สามารถส่งงานพิมพ์ฟิล์ม ไปสกรีนที่ไหนก็ได้ ต่างจาก DTG ต้องส่งผ้ามาที่เครื่องพิมพ์เท่านั้น


จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทั้งสอง จะค่อนข้างเป็นตลาดเดียวกัน จึงเปรียบเทียบกันได้หลายอย่าง แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่ในเลือกสกรีน เช่น ถ้าต้องการให้สินค้าดูแพง และมี Feeling ที่ดีต้องเลือกสกรีนด้วย DTG


ถ้าต้องสกรีนจำนวนเยอะและตัวหนังสือขนาดเล็กๆ เช่นโลโก้ และสกรีนลงชิ้นที่ไม่เรียบ เช่นหน้ากากผ้า(ได้รับความนิยมเป็นมาก) ควรเลือก DTF ในการสกรีน


ถ้าต้องการความง่ายในการเตรียมไฟล์ แบบไม่ยุ่งยาก ก็ต้องเลือก DTG เอาไฟล์มาพิมพ์ได้เลย ไม่ต้องเซ็ตค่าไฟล์ต่าง ๆ ค่อนข้างสะดวกกว่าในกรณีที่เป็นหน้าร้านรับงาน เช่นมาสกรีนตัวเดียวก็สกรีนได้เลย และใช้เวลาไม่นาน


เทคนิคที่สำคัญที่แตกต่างกันของงานสองประเภท


  • DTF เทคนิคสำคับคือการเตรียมไฟล์ หรือ ทำไฟล์ก่อนพิมพ์

  • DTG เทคนิคสำคับคือการเตรียมผ้าก่อนพิมพ์ เช่นกำจัดขนผ้า และการเคลือบน้ำยาที่ผ้า


ศึกษาข้อมูล DTG เพิ่มเติม >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>Click



ร้านแจ๊สโซลูชั่น รับสกรีนผ้าพียงส่งแต่ผ้าและไฟล์มาทางร้านจัดการให้เสร็จทั้งหมด โทร. 083-764-2255



DTF VS Flex Print and Cut

DTF / DFT

Flex print / Flex Cut

สกรีนได้กับทุกประเภทผ้า

เกือบทุกผ้า

ทุกประเภทผ้า

ความคงทนจากการใช้งาน

ดี

ปานกลาง

ความสวยงานภาพถ่าย

ดี

ปานกลาง

ความทึบแสงของสกรีน

ดี

ดีมาก

ตัวหนังสือเล็ก ๆ

ดีมาก

ไม่ดี

ต้นทุนต่อขนาด A3

55 บาท

30-45 บาท

กำลังการผลิตต่อวัน A3

320 แผ่น A3

100 แผ่น A3 ขึ้นอยู่ขนาดงาน

วัสดุ สิ้นเปลือง

หมึก / ฟิล์ม / กาว

หมึก / Flex film

รอบการ Maintenance หลัก

ทุก ๆ สัปดาห์

ทุก ๆ 1 เดือน

การเตรียมไฟล์ก่อนพิมพ์

ต้องใช้ความชำนาญการ

ต้องใช้ความชำนาญการ

นามสกุลไฟล์ที่รองรับ

Ai , PSD , PNG (ก่อนทำไฟล์)

-

การเรียนรู้และการใช้งาน

ยาก ถึง ยากมาก

ไม่ยากมาก

สรุป ข้อดีของระบบ Flex Print ที่ทำได้ดีกว่าระบบ DTF


  1. สามารถเพิ่มเทคนิคพิเศษการพิมพ์สีเงิน และ ทอง หรือ โฮโลแกรมได้ (ใช้เฟล็ก ทอง เงิน พิมพ์ได้ ด้วย)

  2. ใช้ได้กับผ้าย้อม ที่มีการสะท้อนของขึ้นมา และความขาวของวัสดุทำได้ดีกว่า

  3. เส้นตัดตัวหนังสือ คม เนื่องจากเป็นการตัดจากในมีดในการตัด

  4. ประหยัดพื้นที่ และประหยัดพลังงานไฟฟ้า ใช้เครื่องมือน้อยมาก

  5. การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ใช้งานได้ยาว ๆ ปัญหาน้อย

  6. ไม่ต้องใช้หมึกขาว เพราะใช้ความขาวของวัสดุ ทำให้ประหยัดต้นทุน

  7. ไม่ต้องใช้ผงกาว เพราะใช้กาวจากเฟล็ก ได้เลย

  8. ปัญหาการอุดตันน้อยกว่าระบบ DTF เพราะไม่ต้องใช้น้ำหมึกสีขาว


สรุป ข้อดีของระบบ DTF ( Digital Film Transfer ) ที่ทำได้ดีกว่าระบบ Flex Print


  1. ออกงานได้ไวกว่า เพราะไม่ต้องลอกแผ่นเฟล็กหลังจากตัด (ขั้นตอนลอกแผ่นเฟล็กซ์ต้องใช้เวลานาน และต้องใช้สมาธิ และความชำนาญในการลอก)

  2. การนำแผ่นไป Transfer (รีดลงผ้า) ลงผ้าง่ายกว่า

  3. ต้นทุนถูกกว่าเฟล็กซ์

  4. ความคมชัดสำหรับตัวหนังสือเล็ก ๆ ดีกว่า

  5. เมื่อสกรีนลงผ้าแล้วสัมผัสนุ่มกว่า

  6. อายุการใช้งานและความยืดหยุ่นดีกว่า ( PVC Flex )

  7. ไม่ต้องสต็อกวัสดุหลากหลายสี หลากหลายประเภท



จุดเด่นหลัก ๆ ที่แตกต่างการกันระหว่างงาน DTF และงาน Flex


Flex Print : สามารถเพิ่มเทคนิคพิเศษการพิมพ์สีเงิน และ ทอง หรือ โฮโลแกรมได้ (ใช้เฟล็กทอง เงิน พิมพ์ได้ ด้วย


DTF : ไม่ต้องแกะสติกเกอร์ หลังจากพิมพ์เสร็จ ไม่เหมือนเฟล็กปริ้นต้องใช้เทปยก ไม่ต้องใช้เทฟลอน ในการรีด


จริง ๆ แล้วงานสกรีนเฟล็กซ์ หรือเฟล็กซ์ตัด ก็ยังได้รับความนิยมสำหรับงานสกรีน ชื่อ หมายเลข เสื้อกิจกรรม กิจกรรมด่วน เพราะเพียงนำแผ่นเฟล็กซ์มาตัดเป็นตัวอักษรได้เลย ที่สำคัญ ยังสามารถรองรับ สีทอง สีเงิน กำมะหยี่ หรือ สีสะท้อนแสงต่าง ซึ่งถือเป็นจุดเด่น ของงานเฟล็กซ์เลยก็ว่าได้ แต่ถ้าเป็นงานสกรีนแบบเฟล็กซ์ปริ้น นั้น ในอนาคต อาจจะถูกแทนที่ด้วย DTF ก็ว่าได้


ร้านแจ๊สโซลูชั่น รับสกรีนผ้าพียงส่งแต่ผ้าและไฟล์มาทางร้านจัดการให้เสร็จทั้งหมด โทร. 083-764-2255




DTF VS Sublimation