top of page

3 วิธีการเลือกซื้อเครื่องสกรีน( Heat Press Transfer) สำหรับงาน DTF / DFT

อัปเดตเมื่อ 26 พ.ค.



ณ ปัจจุบัน งาน DTF / DFT ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสกรีนที่ค่อนง่าย สะดวก รวดเร็ว ที่สำคัญสามารถสกรีนได้หลากหลายประเภทผ้า ไม่ว่าจะเป็น คอตตอล 100 % ไปจนถึง ผ้าไมโครโพลี ซึ่งจะว่ากันไปก็ยังไม่มีเครื่องพิมพ์ Digital รู้ไหนที่จะพิมพ์ได้ทั้งสองประเภทผ้าดังกล่าวได้โดยตรง



DFT/ DTF เป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับวงการสกรีน (สำหรบเครื่อง Ink Jet DTF/DFT เข้ามาทำตลาดได้ 4-5 ปีทีผ่านมา) แต่ ณ ปัจจุบันถือว่าคนที่ทำธุระกิจกับการสกรีนเสื้อผ้าก็พยายาม หามาใช้ เพื่อลดต้นทุนการสกรีน เพื่อให้สีสันที่ไม่จำกัด เพื่อให้ได้ความสวยงาม บางคนลงทุนซื้อเครื่อง DFT (ทั้งที่รู้ว่ามีความเสี่ยง) บางท่านจ้างผลิต( พิมพ์ฟิล์ม )นำมารีดเอง ซึ่งหลาย ๆ ท่านที่กำลังอ่านมาถึงจุดนี้ แล้วคงเริ่มมีความสนใจแล้วแหละ ว่าจะจ้างพิมพ์แล้วมารีดเองต้องเตรียมพร้อมกันอย่างไรบ้าง


อุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญสุดในการสกรีนระบบ DTF / DTF

1.       แผ่นฟิล์มสำหรับสกรีน (ที่พิมพ์มาแล้ว)

2.       เครื่องรีดร้อนหรือเครื่องสกรีน หรือเครื่อง Transfer ลงวัสดุต่างๆ

3.       แผ่นเทปกันรอยสกปรก และช่วยป้องกันผ้าไม่ให้โดนที่หน้าเตาโดยตรง

4.       น้ำยาลอก DTF ( กรณีรีดผิด หรือ เสีย )

5.       ไม้บรรทัด วัดขนาดหรือระยะ หรือถ้ามีเพลทวางระดับก็จะเป็นการดี เพราะแม่นยำ


สั่งเกตุว่าใช้อุปกรณ์น้อยมาก แทบจะเรียกได้ว่าลงทุนน้อย ได้ร้อยล้านเลยก็ว่าได้ เพราะการลงทุนแบบ หลักๆ ซื้อแค่เครื่องรีดร้อน ในราคาหลักพันก็ทำเงินได้เลยครับ  วันนี้ทางเราจะมาแนะนำวิธีการซื้อเครื่องรีดร้อนหรือเครื่องสกรีน สำหรับงาน DFT / DTF โดยเฉพาะ


              ก่อนอื่นต้องข้ออธิบายเครื่องพิมพ์ DFT/DTF นั้นมีขนาดหน้ากว้าง ตั้งแต่ 11 เซนติเมตร ไปจนถึง ขนาด 120 เซนติเมตร ความยาวไม่จำกัด แต่ในตลาดเมืองไทย ขนาดหน้ากว้างที่ได้รับความนิยามสูงสุด คือ 30 / 33 / 60 / 63 เซนติเมตร



3 วิธีการเลือกซื้อเครื่องรีดร้อน( Heat Press Transfer) สำหรับงาน DTF / DFT


1.       ขนาดของวัสดุที่ต้องการสกรีน เช่น สกรีนหน้าอกเสื้อ หรือสกรีนป้ายคือเสื้อ หรือสกรีนหมวก หรือ สกรีนรองเท้าหรือสกรีนธง หรืองาน สกรีนป้าย


2.       จำนวนที่จะสกรีนต่อวัน หรือต่อครั้ง


3.       สถานที่ในการสกรีน



1.   ขนาดของวัสดุที่ต้องการสกรีน เช่น สกรีนหน้าอกเสื้อ หรือสกรีนป้ายคือเสื้อ หรือสกรีนหมวก หรือ สกรีนรองเท้าหรือสกรีนธง หรืองาน สกรีนป้าย


เครื่องรีดสำหรับสกรีนหน้าอกเสื้อ หรือเสื้อยึดทั่วไป ก็เลือก พิจารณา ได้จากขนาดของงานสกรีน เช่น ขนาดงานสกรีนแค่ A4 ก็เลือกซื้อเครื่องสกรีนขนาดที่ใหญ่ว่า A4 เช่นเครื่องสกรีนขนาด 29x38 เซนติเมตร ถ้าขนาดงานสกรีนมีขนาด A3 ก็เลือกเครื่องสกรีน ขนาด 40 x 50 เซนติเมตร ก็ถือว่าตอบโจทย์  


ถ้าเลือกเผื่อเหลือเผื่อขาดก็ขนาด 40x60 ไปก่อนครับ เพราะถ้าขนาดเกินกว่าชิ้นงาน น่าจะทำงานง่ายกว่า สิ่งที่สำคัญเครื่องสกรีนเหล่านี้ต้องมีแผ่น เทปกันความร้อนติดมาด้วย ถ้าไม่มีแนะนำให้ซื้อเพิ่ม

แผ่นกันความร้อน หรือ เทปลอน เอาไว้ทำอะไร


1.       อยากแรกคือป้องความเสียหายจากความร้อนไม่ให้ลงตรงไปที่ผ้า ทำให้ผ้าไม่ขึ้นรอยสกรีน

2.       ป้องกันหน้าเตาสกปรกจากการสกรีน

3.       ป้องกันงานขยับตำแหน่งได้     


ถ้าเป็นเครื่องสกรีนเสื้อยืดหรือควรเลือกเครื่องที่สามารถ สวมเข้าไปได้แท่นใต้เครื่องรีดจะต้องมีพื้นให้ชายเสื้อสวมเข้าไปได้แบบไม่ติด ซึ่งจะช่วยให้งานสกรีนของคุณอีกด้านไม่โดนความตามไปด้วยเวลาสกรีน และไม่ทำให้งานสกรีนอีกด้านเสียหายด้วย




ยกตัวอย่าง เช่นเราจ้างสกรีนหมึกสีพาติซอล มาจากที่อื่นเป็นการสกรีนยางแบบปาดมา แต่ด้านหน้าเราต้องการสกรีน แบบ DTF ก็จะให้ความร้อนไม่โดนสียาง เป็นต้น


ทางเราแนะนำตามนี้ (ตามงบประมาณ)



เครื่องสกรีนตัวนี้มีขนาดหน้าเตาที่ 29x38 เซนติเมตร ในราคาที่ย่อมเยา แต่สามารถทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานซับลิเมชั่น งาน DTF/DFT ที่สำคัญยังสามารถสกรีนงานซับลิเมชั่น ที่เป็น แก้ว จาน หมวก ได้อีก ถ้าใครที่กำลังเริ่มธุรกินสกรีนสินค้าขาย แต่อยากได้เครื่องสกรีนที่ใช้งานได้หลากหลายให้เลือกเป็นชุด 5 in  1 น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสุด



2. ขยับขึ้นมาอีกขนาดไซด์ เครื่องสกรีนเสื้อขนาด 40x50 และ 40x60 ราคาเริ่มต้นที่ 9,900



เ นื่องงานสกรีนบนหน้าออกเสื้อส่วนใหญ่ก็มีขนาดประมาณ A3 หรือใหญ่กว่า ดังนั้นรุ่นที่เป็นขนาด 28x39 จึ่ง

ไม่ตอบโจทย์ เราจึ่งแนะนำรุ่นที่มีขนาด 40x50 หรือ 40x60 แทน ด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 9,900 แต่เครื่องเหล่านี้จะถูกออกแบบให้สกรีนได้เฉพาะผิวเรียบเท่านั้น จึ่งไม่สามารถสกรีนแก้ว จาน หมวก ได้ แต่มันได้หน้าเตาที่ใหญ่กว่า



การเลือกซื้อเครื่องสกรีนที่มีหน้าหน้าใหญ่ 40x50 นั้นต้องแลกมาด้วยการออกแรกกดหน้าที่หนักขึ้นพอสมควรวิธีการ เลือกมีดังนี้ แนะนำให้ลองดูที่มือจับกดหรือก้านยกนั้น ถ้ามีความยาวก็จะช่วยลดแรงได้ดี บางเครื่องก็จะมีระบบยกหน้าเตาโดยอัติโนมัติ แต่ราคาอาจจะสูงขึ้นตาม ดูความแข็งแรงของเหล็กที่ยกหน้าเตา เวลาไปเทส ให้ลองกด และโยกดู ถ้าโครงเครง สายไปมา ให้สันนิฐานได้เลยว่าใช้ได้ไม่นานก็ต้องซ่อม เครื่องรีดกลุ่มนี้ค่อนข้างมีหลากหลายมาก



จะเป็นเครื่องสกรีนมีความเฉพาะด้าน ซึ่งจะแตกต่างจากทั้งรุ่นที่ผ่านมา คือเครื่องสกรีนหมวกนั้นจะไม่แบนเรียบเหมือนเครื่องสกรีนเสื้อ และจะขนาดเท่าแค่หน้าหมวก แต่หลักการทำงานนั้นก็จะคล้าย ๆ กัน คือใช้ได้ทั้งงาน ซับลิเมชั่น และงาน DTF / DFT แต่สามารถสกรีนได้แค่หมวกได้แค่นั้น แต่เจ้าเครื่องตัวนี้จริง ๆ ออกแบบมาให้สามารถเปลี่ยนหน้าเตาชุดความร้อนให้เป็นแบบแบนเรียบได้ จึ่งสามารถนำไปสกรีนผ้าต่าง ๆ ได้เช่นกันแต่จะมีขนาดพื้นที่ในการสกรีนแค่เพียง15x15 เซนติเมตร เท่านั้น จึ่งนิยมนำมาสกรีนงานที่มีขนาดพื้นเล็ก ๆ เช่นสกรีนโลโก้ที่หน้าอก ป้ายบอกขนาดที่คอเสื้อ กระเป๋าเสื้อ โลโก้บนร่ม ชายกางเกง






อาจจะไม่ใช่เครื่องหลักในการทำงานเท่าไหร่แต่แนะนำให้ติดไว้เพราะบางทีเราอาจจะเจอที่ยากเสื้อที่เย็บเสร็จมาแล้วแต่จำเป็นต้องสกรีนโลโก้ต่างลงในตำแหน่งเล็กมาก ๆ และไม่ต้องการให้เห็นรอยกดของเครื่องรีดเจ้าเครื่อง Mini Heat Press ก็เป็นตัวช่วยที่ดี เนื่องจากมีขนาดเล็กสามารถเข้าพื้นที่เล็ก ๆ ในการสกรีนได้เป็นอย่างดี สามารถยกไปสกรีนได้ทุกสถานที่ และสามารถใช้แรงกดจากมือได้ เพื่อลดความเสียหายเมื่อต้องเจอผ้าที่ทนความร้อนได้น้อย





หรือผ้าที่ไม่สามารถใช้แรงกดได้เยอะ ๆ ก็แนะนำให้ใช้ Mini Heat Press แทนได้เช่นเดียวกัน

หรืองนำไปใช้กับงาน DIY งาน Craft ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่นงานสกรีนโลโก้ที่รองเท้า หมวก วัสดุที่ไม่เรียบ เบาะผ้า หมอนที่ขึ้นรูปไปแล้ว สกรีนโลโก้ลงผ้าห่มเด็กนักเรีนย สกรีนชื่อลงบนกระเป๋านักเรียน สกรีนสายสระพายกระเป๋าต่าง ๆ สกรีนลงกระเป๋าโน้ตบุค


6. เครื่องสกรีดงานป้าย หรือ ธง ( งาน DTF)


บางท่านอาจจะส่งสัยว่างานที่ DTF ทำงานป้ายได้เหรอ จริง ๆไม่เชิงว่าเป็นงานป้าย ใหญ่ ๆ เช่นไวนิลแบบนั้น แต่จะเป็นป้ายผ้าที่ใช้ภายใน เช่นหน้าร้านอาหารญี่ปุ่น ที่จะชอบให้ผ้าในการตกแต่งร้านค้าแล้วมีข้อความเป็นตัวหนัง หรือโลโก้ เราก็สามารถใช้ DTF ในการสกรีนได้ โดยใช้เครื่องสกรีนแบบ 70x90 เชนติเมตรได้




โดยใช้วิธี สกรีนทีละส่วนได้เช่นกัน  หรือแม้แต่การสกรีนเสื้อกีฬาแบบเต็มตัวโดยใช้ DFT ในการทำก็ดูโดดเด่น กว่าการพิมพ์ซับลิเมชั่นแบบเสื้อพิมพ์ลาย ทั่ว ๆ ไป  โดยนำผ้าสีมาสกรีนลายทับลงไปได้เลย


2. จำนวนที่จะสกรีนต่อวัน หรือต่อครั้ง


ทำไมจึ่งต้องสนใจปริมาณการสกรีน DTF ต่อวัน การจะเลือกเครื่องสกรีนสำหรับงาน DFT นอกจากจะดูขนาดและ วัสดุที่จะไปสกรีนก็ต้องดูจำนวนที่เราผลิตในแต่ละวันด้วยเช่น เครื่องสกรีนที่แนะนำไปข้างต้นส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องแบบมือกดเกือบทุกรุ่น (ยกเว้นเครื่อง 70x90) ซึ่งการทำงานด้วยมือกดนานๆ อาจจะทำเหนื่อยล่าได้ง่าย


เพราะสกรีนแบบ DTF ที่ใช้ความ 120-160 องศา และใช้เวลาในการสกรีนเพียง 6- 12 วินาที ก็ต้องยกหน้าเตา ซึ่งรอบการทำงานจะบ่อยกว่างานซับลิเมชั่นมาก ทำให้การป้อนชิ้นงานไม่ทัน เสียเวลาในการยกเตา (ในบางรุ่นยกออโต้) เสียเวลาในการสวมเสื้อใส่ถาด (ในกรณีมีถาดเดียว) และงานสกรีน DTF บางประเภทก็ต้องสกรีนถึงสองรอบ และฟิล์มบางตัวที่คุณภาพไม่ดีต้องรอให้ฟิล์มเย็นตัวก่อนค่อยลอกงานออก ถึงจะสกรีนซ้ำได้


ถ้าเป็นงานคุณไม่เกิน 150-300 ต่อวันก็สามารถใช้เครื่องสกรีนแบบมือกดได้โดยไม่มีปัญหา




 

              แต่ถ้าคุณมีงานสกรีนหลักพันจุดต่อวันคุณควรต้องมีเครื่องที่มีสองถาดในการสกรีน ในระหว่างสกรีนชิ้นที่ 1 คุณสามารถจัดวางชิ้นที่  2 รอได้เลย เมื่อชิ้นที่ 1 เสร็จเรียบร้อยก็ย้ายเตามาสกรีนชิ้นที่ 2 ต่อได้ และในชิ้นที่ 1 เสร็จไปก็เตรียมผ้า หรืองานสกรีนต่อ โดยที่เครื่องไม่หยุด จะทำให้คุณออกงานได้ไวกว่าเกือบ 3 เท่าเลยทีเดียวถ้ามีสองถาด

การทำงานด้วยเครื่องสกรีนแบบนี้เราจะแนะนำเครื่องที่มีระบบออกแรงกด อัตโนมัติซึ่งมีอยู่สามระบบหลัก




1.       ระบบไฮดรอลิกส์

ข้อดีคือการอัดลายค่อยมีหนักแน่น และเสถียร ใช้กับงานซับลิเมชั่นได้ดี ข้อเสียราคาสูง และ ช้า ต้อง Maintenance ด้วยการเติมน้ำมันบ่อย


2.       ระบบปลั๊มลม

ข้อดีลงทุนไม่สูงมาก ทำงานไว ข้อเสียอาจจะได้ยินเสียงปลั๊มบ่อย เพราะการสกรีนระบบ DTF รอบการสกรีนจะบ่อยกว่า






3.       ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า

ข้อดีเงียบ ไม่ต้องใช้ปลั๊มลม ข้อเสียมอเตอร์เสียงาย และจะมีหน้ากว้างเครื่องสกรีนไม่ใหญ่มาก

 

              โดยการทำงาน DTF ทางเราแนะนำเครื่องสกรีนที่มีปลั๊มลม เพราะดูแลง่ายรักษา ทำงานไว และคล่องตัวกว่า ที่สำคัญ ราคาถูกสุด


3. สถานที่ในการสกรีน


เ นื่องจากเครื่องสกรีนมีปัจจัยหลัก ๆ คือต้องทำความร้อนสำหรับรีดหรืออัดลาย สิ่งที่ตามก็เรื่องการกินกำลังตามขนาดของหน้าเตา ยิ่งเตาที่มีขนาดใหญ่ก็ยิ่งกินไฟเยอะเช่นกัน สิ่งที่สองสำคัญเช่นกันคือขนาดของตัวเครื่องนั้นก็ค่อนข้างใหญ่เช่นเครื่องสกรีนที่หน้าเตาขนาด 70x90 เซนติเมตร ต้องใช้พื้นที่ในการทำงาน 1.5 x.2.5 เมตรเป็นอย่างน้อย และมาพร้อมเสียงของปลั๊มลมเวลาทำงาน


วิธีการเลือกมี 3 หลักง่าย


1.       ถ้าอยู่ในที่พัก บ้านพัก ห้องพัก หรือ หน้าร้านที่เป็น โชว์รูม ในห้างสรรพสินค้า ทางเราแนะนำให้ใช้เครื่องรีดแบบมือกด เพราะใช้พื้นที่น้อยกว่า และไม่มีเสียงดังลบกวนคนอื่น และสำคัญเครื่องสกรีนเหล่าใช้ไม่เยอะมาก จึ่งสามาถใช้ได้กับไฟบ้านได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร

2.       ถ้าในอาคารพาณิชย์ หรือโรงงาน ที่มีพื้นที่เพียงพอ และสามารถทำงานแบบมีเสียง และสามารถเพิ่มกำลังไฟฟ้า ได้ก็แนะเครื่องที่มีระบบปลั๊มลม จะเป็นการดีกว่า

3.       ต้องการเคลื่อนย้าย หรือไม่ หรือบางท่านต้องทำเครื่องไปจัดแสดง หรือไปทำการสกรีนนอกสถานที่ก็ดูเครื่องที่ต้องใช้กำลังไม่เยอะ และน้ำหนักไม่เยอะ เครื่องบางตัวอาจจะต้องฟิกการติดตั้งเช่นเดินสายไฟ เบรคเกอร์ ลงไฟกราวด์ ด้วยเช่น 70x90 cm




ติอต่อได้ที่

086-186-1359 เชล / กราฟฟิก

063-790-5601 เชลเมย์

Line@ : @jazzprint

Line@ :  @jazz-solution


 

 

 

ที่อยู่โรงงาน

1315/1-2 ซอยประชาอุทิศ 79 ถนนประชาอุทิศ แขวงเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140



จำหน่ายเครื่องรีดร้อนสำหรับงานสกรีน Sublimation / DTF / DTG / Flex

สนใจโทร 083-764-2255

Line@ :  @jazz-solution

Comments


สนใจรับข้อมูลเพิ่มเติม ฟรี !!

ขอบคุณสำหรับข้อมูล!

bottom of page